วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2550

กิจกรรมท้ายหน่วยการเรียนที่1

กิจกรรมท้ายหน่วยการเรียนที่ 1
ข้อที่ 1. เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา
เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง การนำเอาความรู้ แนวคิด กระบวนการ และผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ ทั้งที่คิดขึ้นหรือกระทำขึ้นมาใหม่ หรือดัดแปลงจากที่เคยมีมาก่อนแล้วนำมาใช้รวมกันอย่างมีระบบ เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการศึกษาให้ก้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อที่ 2. เทคโนโลยีและนวัตกรรมในด้านต่างๆ
เทคโนโลยีและนวัตกรรมถูกนำมาใช้ในงานสาขาต่างๆเช่นเทคโนโลยีทางการทหาร ( Military Technology )เทคโนโลยีทางการแพทย์ ( Medical Technology )เทคโนโลยีทางการเกษตร ( Agricultural Technology )เทคโนโลยีทางการสื่อสาร ( Communication Technology )เทคโนโลยีทางการค้า ( Commercial Technology )เทคโนโลยีทางวิศวกรรม ( Engineering Technology )เทคโนโลยีทางการตลาดสังคม ( Social Marketing Technology )เทคโนโลยีทางการศึกษา ( Educational Technology )

ข้อที่ 3. เทคโนโลยีทางการศึกษา จำแนกเป็น 2 ทัศนะ คือ- เทคโนโลยีทางการศึกษาตามทัศนะทางวิทยาศาสตร์กายภาพเป็นการนำเอาเครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์ หรือผลิตผลทางวิศวกรรมมาช่วยในกระบวนการเรียนการสอน ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายได้ง่ายขึ้น จึงเรียกว่าเทคโนโลยีทางเครื่องมือ ( Tool Technology )- เทคโนโลยีทางการศึกษาตามทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์ ( Behavioral science concept)เป็นการนำเอาความรู้ในด้านต่างๆเช่น ภาษาหรือการสื่อความหมาย มานุษยวิทยา จิตวิทยา การบริหาร มาใช้ควบคู่กับผลิตผลทางวิทยาศาสตร์หรือวัสดุอุปกรณ์ เพื่อให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้ให้ก้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ









ข้อที่ 4. ความหมายของการศึกษา
การศึกษา มีความหมายแตกต่างกันตามความเข้าใจของบุคคลแต่ละระดับดังนี้1. บุคคลธรรมดาสามัญการศึกษา เป็นการเล่าเรียนฝึกฝนและอบรม ( ราชบัญฑิตยสถาน, 2529 : 108)2. บุคคลในวิชาชีพทางการศึกษาการศึกษา เป็นศิลปะการถ่ายทอดความรู้จากอดีต ซึ่งรวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่อย่างมีระบบ เพื่อให้บุคคลรุ่นหลังเข้าใจและนำไปปฏิบัติ ( Good. 1959 : 191 )3. บุคคลที่เป็นนักการศึกษา สามารถจำแนกได้ 2 ทัศนะคือ 3.1 ทัศนะแนวสังคมนิยม เช่น
พลาโต ( Plato) กล่าวว่า การศึกษา คือ เครื่องมือที่ผู้ปกครองประเทศใช้ในการเปลี่ยนแปลงนิสัยมนุษย์ เพื่อก่อให้เกิดรัฐที่มีความสมานสามัคคี เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ( ภิญโญ สาธร. 2522 : 13 ) 3.2 ทัศนะแนวเสรีนิยม เช่นการศึกษา คือ การทำลายสัญชาตญาณสัตว์ การศึกษาเพื่อยกจิตใจของมนุษย์ และเสนอว่า การศึกษาเป็นไปเพื่อธรรมาธิปไตยมิใช่ประชาธิปไตย ( พุทธทาสภิกขุ. 2516 : 7 )ความหมายของการศึกษาที่ผสมผสานระหว่างแนวสังคมนิยม และแนวเสรีนิยม น่าจะได้แก่
พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 พระองค์ตรัสว่า การให้การศึกษานั้นกล่าวโดยย่อได้แก่ การช่วยเหลือบุคคลให้ค้นพบวิธีดำเนินชีวิตในทางที่ชอบและเหมาะแก่อัตภาพของตน ( วีระ บุณยะกาญจน. 2532 : 5 )

ข้อที่ 5. ระดับของเทคโนโลยีการศึกษา แบ่งได้ 3 ระดับ ได้แก่1. ระดับอุปกรณ์การสอนเป็นการใช้เทคโนโลยีในระดับ เครื่องช่วยการสอนของครู ( Teacher”s Aid ) เป็นการเร้าความสนใจของนักเรียน ขยายความเข้าใจให้แจ่มแจ้ง ให้ผู้เรียนได้รับการสัมผัสหลายๆทาง เช่น การใช้ภาพ ใช้เสียงจากเสียงจริง หรือใช้วัสดุจำลอง เป็นต้น การใช้เทคโนโลยีระดับนี้จะต้องใช้ควบคู่ไปกับการสอนของครูตลอดเวลาจึงจะดี2. ระดับวิธีสอนเป็นการใช้เทคโนโลยีแทนการสอนของครูด้วยตัวเอง โดยผู้สอนไม่จำเป็นจะต้องอยู่ในสถานที่แห่งเดียวกับผู้เรียนเสมอไป เช่น การสอนทางไกลโดยวิทยุ โทรทัศน์ หรือเอกสารทางไปรษณีย์ มีผลดีในด้านการจัดกิจกรรม การใช้เครื่องมือ การสร้างบรรยากาศชวนสนใจ แต่มีข้อเสียคือ ไม่มีความผูกพันระหว่างครูกับผู้เรียน3. ระดับการจัดระบบการศึกษาเป็นการใช้เทคโนโลยีการศึกษาระดับกว้าง สามารถจัดระบบการศึกษาตอบสนองผู้เรียนได้จำนวนมาก เช่น ระบบการสอนทางไกลของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เทคโนโลยีระดับนี้มีองค์ประกอบที่สำคัญ เช่น งานบริหารการศึกษา งานพัฒนาการศึกษา สื่อการศึกษา เป็นต้น นับเป็นพื้นฐานในการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนในปัจจุบัน ( วีระ บุณยะกาญจน. 2532 : 23 )


ข้อที่ 6. ข้อแตกต่างและความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีและนวัตกรรม
เทคโนโลยีและนวัตกรรม เป็นความคิดและการกระทำใหม่ทั้งหมดหรือปรับปรุงดัดแปลงจากที่เคยมีมาก่อน มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัย และเมื่อนำมาใช้หรือปฏิบัติแล้วสามารถช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น เพียงแต่นวัตกรรมยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน ส่วนเทคโนโลยี คือนวัตกรรมที่ถูกนำมาใช้จนถือกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบันนั่นเอง

ข้อที่ 7. ขั้นตอนในการกำเนิดนวัตกรรม
1. ขั้นประดิษฐ์คิดค้น ( Invention )
2. ขั้นการพัฒนา ( Development ) หรือขั้นทดลอง ( Pilot Project )
3. ขั้นการนำไปใช้หรือปฏิบัติจริง ( Innovation)

ข้อที่ 8. บทบาทของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษากับการจัดการเรียนการสอน การจัดการเรียนการสอน เป็นระบบงานย่อยที่สำคัญระบบหนึ่งในทางการศึกษา ซึ่งส่งผลโดยตรงกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ กล่าวคือ การจัดการเรียนการสอนเกี่ยวข้องกับระบบการถ่ายทอดความรู้หรือประสบการณ์ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาจึงมีความสำคัญต่อการจัดการเรียนการสอนดังนี้1. ช่วยให้ผู้เรียนได้กว้างขวางมากขึ้น ได้เห็นหรือได้สัมผัสกับสิ่งที่เรียนและเข้าใจได้อย่างสมบูรณ์ และยังทำให้ผู้สอนมีเวลาแก้ผู้เรียนมากขึ้น2. สามาสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้เรียนมีอิสระในการแสวงหาความรู้ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมมากขึ้น ผู้เรียนได้เรียนตามความสามารถ ตามความสนใจและความต้องการของแต่ละบุคคล3. ให้การจัดการศึกษาดีขึ้น มีการค้นคว้าวิจัย ทดลอง ค้นพบวิธีการใหม่ๆ ตามสภาพความเปลี่ยนแปลง4. มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาสื่อการสอน ให้มีคุณค่าและสะดวกต่อการใช้มากขึ้น5. ทำให้การเรียนรู้ไม่เน้นเฉพาะด้านความรู้เพียงอย่างเดียว แต่เน้นด้านทัศนะคติหรือ เจตคติและทักษะแก่ผู้เรียนด้วย เช่น การเรียนผ่านทางโทรทัศน์ ภาพยนตร์ สไลด์ ชุดการสอน กระบวนการกลุ่มเป็นต้น6. ช่วยเพิ่มโอกาสทางการศึกษาของผู้เรียนให้มากขึ้น เช่น การจัดการศึกษานอกระบบการจัดการศึกษาพิเศษ การจัดการศึกษาซ่อมเสริมผ่านทางระบบการสอนต่างๆ เช่น การเรียนผ่านสื่อมวลชน ชุดการสอน บทเรียนสำเร็จรูป

ข้อที่ 9. ตัวอย่างนวัตกรรมการศึกษา
- ศูนย์การเรียน - การสอนแบบโปรแกรม- บทเรียนสำเร็จรูป - ชุดการเรียนการสอน- การเรียนการสอนระบบเปิด - การสอนเป็นคณะ- การจัดโรงเรียนไม่แบ่งชั้น - การจัดโรงเรียนในโรงเรียน- การเรียนการสอนทางไกล - เรียนปนเล่น- คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ( CAI ) - การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอน- แบบฝึกหัดปฏิบัติเฉพาะกิจ
ข้อที่ 10. สาเหตุที่นำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ทางการศึกษา
กระบวนการให้การศึกษาในปัจจุบันได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงต่างๆ พอสรุปได้ 3 ประการ คือ1. การเพิ่มจำนวนประชากร การเพิ่มจำนวนประชากรเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาด้านต่างๆ เช่น การขาดแคลนอาหาร ที่อยู่อาศัย สถานที่ศึกษา ครู สื่อการสอน เป็นต้น ทำให้การศึกษาเป็นไปไม่ทั่วถึง หากรัฐบาลจะสร้างอาคารเรียนให้พอเพียง พร้อมทั้งผลิตและส่งครูไปทำการสอนในโรงเรียนอย่างทั่งถึงเป็นสิ่งที่กระทำได้ยากและต้องใช้งบประมาณมหาศาล นักศึกษาได้เสนอแนวทางที่เป็นไปได้ในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีมาเป็นส่วนส่งเสริมคุณภาพของการศึกษา เช่น โทรทัศน์การสอน ( Instructional T.V.) บทเรียนสำเร็จรูป (Programmed Textbook) ชุดการสอน (Instruction Packages) เป็นต้น2. การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นปัญหาที่ต่อเนื่องจากประชากรเพิ่มโดยตรง ทำให้สภาพเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การต่อสู้ดิ้นรน การแข่งขันสูงขึ้น การศึกษาจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงให้ทันกับเหตุการณ์อยู่เสมอ เพื่อให้ผู้ที่ได้รับการศึกษาสามารถดำเนินชีวิตอยู่ได้ในสังคมอย่างมีความสุขและก้าวหน้าต่อไป การนำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้จะช่วยสนับสนุนคำกล่าวที่ว่า “การศึกษาเป็นสิ่งผูกพันกับชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย” ดังนั้นการให้การศึกษาตลอดชีวิต (Longlife Education) แก่ประชาชนจึงเป็นไปในรูปของการศึกษานอกระบบ (Infomal Education) มหาวิทยาลัยเปิด (Open University) โดยอาศัยสื่อมวลชนเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียนที่อยู่ห่างไกลให้มีโอกาสได้รับการศึกษาตลอดไป3. ความก้าวหน้าทางวิทยาการใหม่ๆ การศึกษาค้นคว้าเพื่อหาวิธีแก้ปัญหาที่เป็นผลกระทบมาจากการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจและสังคม ทำให้พบวิทยาการใหม่ๆ หลากหลาย ด้านการศึกษาจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงหลักสูตร เนื้อหา และวิธีการสอน เพื่อให้ทันกับเครื่องมือและวิธีการที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เช่น การสอนที่เคยเน้นการท่องจำ ต้องปรับปรุงให้รู้จักคิด เน้นกระบวนการ (Process Learning) ดังนั้น จึงนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในรูปของการสอนแบบสืบสวนสอบสวน (Inauily Method) เป็นต้น การศึกษาค้นคว้าทางจิตวิทยาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางการศึกษาหรือกระบวนการเรียนการสอน โดยยึดทฤษฎีต่างๆ เป็นหลัก เช่น การรับรู้ (Perception) การเรียนรู้ (Learning) แรงกระตุ้น (Motivation) การเสริมแรง (Reinforcement) นอกจากนี้ยังคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล เป็นสำคัญด้วย

ข้อที่ 11. แนวคิดในการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษากับการศึกษาไทย ปัญหาและสภาพการศึกษาไทยในอดีตย่อมย่อมได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงดังที่กล่าวมาแล้ว ทำให้การศึกษาไทยได้รับการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่สมบูรณ์และมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะปัญหาด้อยคุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษาซึ่งพอประมวลได้ 3 ประการ คือ1. คนไทยส่วนใหญ่ไม่นับถือตนเอง2. คนไทยส่วนใหญ่ไม่เห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อม3. คนไทยส่วนใหญ่ขาดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามลักษณะสังคมไทย
การไม่นับถือตนเองคนไทยส่วนใหญ่ขาดความเชื่อมั่นและไม่นับถือตนเอง ในภาพการเรียนการสอนที่ครูเป็นศูนย์กลาง ครูไม่สามารถเอาใจใส่ผู้เรียนได้อย่างทั่วถึง ผู้เรียนบางคนไม่มีโอกาสตอบคำถามครูเลย ผู้เรียนส่วนใหญ่ต้องออกจากโรงเรียนเมื่อจบชั้นเรียนภาคบังคับและไม่มีโอกาสเรียนต่อ ทำให้ผู้เรียนเกิดปมด้อย ขาดความเชื่อมั่น การจัดการศึกษาควรให้ผู้เรียนได้เป็นศูนย์กลาง และทำงานที่เป็นผลสำเร็จด้วยตนเอง และได้รับคำชมเชยจากเพื่อนๆ ครูและผู้อื่นการไม่เห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อมในอดีตหลักสูตรบรรจุเนื้อหาและประสบการณ์ที่ไม่เอื้อต่อผู้เรียนในส่วนภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ การจัดการศึกษาควรตอบสนองความต้องการของคนแต่ละภาคเพื่อให้เขาได้ชื่นชมกับสิ่งแวดล้อมอันได้แก่ วัฒนธรรมต่างๆ รู้จักปรับปรุงความเป็นอยู่ การกิน การเพาะปลูก อุตสาหกรรม เกษตรกรรม และรักถิ่นฐานของตนเอง ไม่พากันหลั่งไหลเข้ามาแต่ในเมืองหลวง การไม่เห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อมของคนไทยนั้น รวมถึงการไม่ยอมรับความสามารถของคนไทยด้วยกันเองอีกด้วยการขาดลักษณะที่พึงประสงค์1. การจัดห้องเรียนและระบบการสอนแบบครูเป็นศูนย์กลาง ซึ่งบทบาทของครูเป็นผู้พูดตลอดเวลา ผู้เรียนจึงไม่มีโอกาสฝึกพูดและแสดงความคิดเห็น ปรากฏว่าเมื่อเติบโตขึ้นผู้เรียนไม่กล้าแสดงความคิดเห็น บางคนกล้าแต่ไม่รู้จักแสดงความคิดเห็น การกล้าและรู้จักแสดงความคิดเห็นต้องได้รับฝึกฝนมาตั่งแต่เด็ก2. การตัดสินใจด้วยตนเองก็เช่นกันควรฝึกตั้งแต่ภายในครอบครัว และโรงเรียนด้วย3. การรู้จักทำงานร่วมกันเป็นหมู่ ทางผู้เรียนมักเกิดปัญหา เนื่องจากครูมักเร่งกรอกความรู้ให้แก่ผู้เรียนอย่างเร่งรีบเพื่อให้ทันตามหลักสูตรจนไม่มีโอกาสได้ฝึกการทำงานร่วมกันของผู้เรียน ผลจึงปรากฏว่าส่วนใหญ่คนไทยมักไม่ค่อยประสบความสำเร็จในการทำงานร่วมกัน4. การสอนแบบพูดอย่างเดียวผู้เรียนมีหน้าที่เรียนและฟัง จะทำให้ผู้เรียนไม่มีโอกาสได้ฝึกตนเองในการแสวงหาความรู้หรือทำงานเป็นอิสระด้วยตนเอง ผลที่ปรากฏส่วนใหญ่ผู้สำเร็จการศึกษาไปแล้วจะไม่ติดนิสัยรักการอ่านหนังสือ ทำให้ลืมหนังสือในที่สุด5. ประการสุดท้ายในเรื่องการรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ระบบการศึกษา แบบเดิมมักจะ “สอน”แต่ไม่มีการ “ฝึก” การเป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่จังขาดความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและสังคมการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาเข้ามาช่วยเป็นการเปิดโอกาสให้เรียนได้สร้างความเชื่อมั่นและนับถือตนเอง เห็นคุณค่า และสามารถนำสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นของตนมาใช้เพื่อการดำเนินชีวิตที่สมบูรณ์และฝึกฝนคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่ 5 ประการดังกล่าว


12. จงยกตัวอย่างและแนวทางแก้ไขของการมีลักษณะที่ไม่พึงประสงค์
1. กล้าและรู้จักแสดงความคิดเห็น ครูควรจัดห้องเรียนและระบบการสอนแบบนักเรียนเป็นศูนย์กลาง เปิดโอกาสให้นักเรียนคิดเองทำเอง โดยครูมีหน้าที่เป็นที่ปรึกษา หรืออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เรียนเท่านั้น การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน เช่น การใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยในการสอน การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน รูปแบบการสอนที่นักเรียนได้มีส่วนร่วม การอภิปราย บทบาทสมมติ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะทำให้ผู้เรียนมีความกล้าและรู้จักแสดงความคิดเห็นมากขึ้น2. การตัดสินใจด้วยตนเอง ควรฝึกให้ผู้เรียนรูจักและตัดสินใจด้วยตนเองตั้งแต่ภายในครอบครัวและโรงเรียนด้วย ครูผู้สอนจะต้องร่วมมือกับทางครอบครัวของผู้เรียน ให้ครอบครัวสอนแนะนำให้ผู้เรียนรู้จักคิดเองตัดสินใจด้วยตนเองก่อน การตอบคำถามหรือข้อสงสัยของเด็ก ไม่ควรตอบทันทีทันใด แต่ควรเป็นการชี้แนะ หรืออธิบานกว้างๆ ให้เด็กคิดตัดสินใจเองหากเด็ดตัดสินใจผิด จึงค่อยบอกกล่าวภายหลัง ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีควรมีการจัดการเรียนการสอนแบบต่างๆ ที่เป็นแนวทางให้เด็กรู้จักคิดและตัดสินใจด้วยตนเอง เช่น การสอนแบบสืบสวนสอบสวน เป็นต้นๆ 3. รู้จักทำงานร่วมกันเป็นหมู่อย่างมีประสิทธิภาพครูควรจัดการเรียนการสอนทั้งทฤษฎีและฝึกการทำงานร่วมกันไปด้วย การจัดชั้นเรียน การมอบหมายงาน การจัดกิจกรรมครูควรเน้น ที่ระบบการทำงานเป็นทีม ชี้แนะระบบการทำงานเป็นทีมให้ชัดเจน มีการจัดแบ่งการทำงานให้ครบกันทุกคนที่ทำงานด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการสอนแบบอ๓ปรายกลุ่ม การสอนเป็นคณะ หรือการจัดกิจกรรม ครูควรมีกระบวนการสอนที่ชัดเจน มีการวัดแบบประเมินผลที่ครอบคลุมและชัดเจนเช่นกัน เพื่อให้ผู้เรียนได้รู้ว่าถ้าหากไม่ร่วมกันทำงาน ไม่ช่วยกันร่วมในกิจกรรมแล้วงานจะไม่สำเร็จหรือคะแนนที่ได้มาจะน้อยลง4. รู้จักแสวงหาความรู้เองการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษามาใช้จะช่วยให้ผู้เรียนรู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเองมากขึ้น ครูไม่ควรสอนแบบอธิบายอย่างเดียว ควรให้ผู้เรียนรู้จักค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองจากห้องสมุด การอ่านหนังสือ การค้นคว้าจากคอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ต การส่งงานทาง E- mail เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะทำให้ผู้เรียนรักการอ่าน รู้จักค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง5. มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมการเรียนการสอนจะต้องมีทั่งการให้ความรู้ทางวิชาการและฝึกปฏิบัติด้านคุณธรรมและจริธรรมแบบเรียน กระบวนการเรียนการสอนจะต้องปรับปรุง เพิ่มเติมด้านความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมให้มากกว่าเดิม การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในทางที่ดีและถูกต้อง ไม่ทำร้ายหรือให้โทษต่อผู้อื่นการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีต้องรู้จักรับผิดชอบด้วย ในการใช้งานถ้าใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้มีประโยชน์ต่อตนเองและสังคมแล้ว ยังจะเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมอย่างแท้จริง

ไม่มีความคิดเห็น: