วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2550

ภูมิปัญญาท้องถิ่น (โพธาราม...ราชบุรี)




กระเทียมโทนสามรส จุฑาทอง
กลุ่มกระเทียมโทนสามรสจุฑาทอง
123 หมู่ที่ 7 ตำบลเขาชะงุ้ม อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี 70120
ติดต่อ : คุณชาลิสา กมลจรัสธารา โทร : 06-1738825 , 032-359804



ตะกร้าปิคนิคเด็กอ่อน
ตุ๊กตาลิงนั่งผลิตจากผ้าขนเปียก และ
ตุ๊กตาแบบต่างๆ
กลุ่มหัตถกรรมตุ๊กตาราชบุรี (อุษาตุ๊กตา)
44/1 หมู่ 4 ต.บ้านเลือก อ.โพธาราม
จ.ราชบุรี 70120
ติดต่อ : นางอุระษา เหลาโชติ โทร : 032 233024
032 347884, 09 9255962
โทรสาร : 032 347200 E-mail : u-satoys@hotmail.com

ซอสพริกมะเขือเทศ
บริษัท โกลเด้นฮาร์เวสท์ ( ประเทศไทย ) จำกัด
28 หมู่ที่ 4 บ้านสิงห์ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี 70120
ติดต่อ : นายบัญชา สุเมธาอักษร โทร : 032 232868
โทรสาร : 032 356252 e-mail : goldenth@hotmail.com


เขียงไม้มะขาม
กลุ่มทำเขียงจากไม้มะขาม
4/2 หมู่ 10 ตำบลบ้านสิงห์
อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ติดต่อ : นายปฐมพล พนาพงศ์ไพศาล
โทร : 032 234087, 01 6234144, 09 4447040, 01 6234144
โทรสาร : 032 234088

ไชโป้วหวานชนิดฝอย (2350) โรงงานผักกาดหวานแม่บุญส่ง

91 หมู่ที่ 1 ตำบลเจ็ดเสมียน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี 70120


"โอ่งมังกร"
คนจีนรุ่นบุกเบิกชื่อ นายจือเหม็ง แซ่อึ้งและพรรคพวก ได้รวบรวมทุนได้ 3,000 บาท ตั้งโรงงานเถ้าเซ่งหลีขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2476 เป็นโรงงานขนาดเล็กบริเวณสนามบินอยู่ตรงข้ามโรงเรียนอนุบาลราชบุรีเดี๋ยวนี้แหล่งดินสีแดงที่ราชบุรีก็ค่อนข้างจะมีคุณภาพเหมือนที่เมืองจีน ดังนั้น จากเดิมเราใช้โอ่งอ่างไหจากเมืองจีนผู้ริเริ่มก็ทำอ่าง ไห กระปุก และโอ่งบ้างเล็กน้อย ให้ชาวมอญราชบุรีใส่เรือไปเร่ขายการทำโอ่งได้ริเริ่มอย่างจริงจังก่อนสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ดินขาวที่ใช้แต่งลวดลายเดิมได้มาจากเมืองจีนต่อมาได้หาทดแทนจากดินที่ท่าใหม่จันทบุรี และสุราษฏร์ธานี เมื่อกิจการรุ่งเรืองขึ้น โรงงานจึงขยายกิจการและผลิตโอ่งเพิ่มมากขึ้นหุ้นส่วนหลายคนแยกตัวไปตั้งโรงงานเอง โดยเฉพาะในจังหวัดราชบุรี ปัจจุบันมีโรงงานผลิตโอ่งอยู่ถึง 42 แห่ง และเป็นโรงงานผลิตเครื่องเคลือบรูปแบบต่าง ๆ ออกไปอีก 17 แห่งตามจังหวัดอื่น ๆ ที่แยกไปจากนี้ คือ ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จังหวัดชลบุรีและในกรุงเทพมหานครบริเวณ สามเสน เป็นต้นเจ้าของโรงงาน ช่างปั้น และประชาชนส่วนใหญ่ของจังหวัดราชบุรี เมื่อครึ่งศตวรรษมาแล้วล้วนเป็นลูกหลานจีน ดังนั้นช่างปั้นจึงได้คิดคัดเลือกลวดลายที่เป็นมงคล และมีความหมายที่ดี เพื่อให้เกิดความรู้สุกที่ดีต่อผู้ใช้ นอกเหนือจากความงามเพียงอย่างเดียว ที่สุดก็ได้เลือกสรรลวดลายมังกร ซึ่งแฝงและฝังไว้ด้วยความหมายตามความเชื่อ คตินิยมในวัฒนธรรมจีน ลวดลายมังกรดั้นเมฆ มังกรคาบแก้ว และมังกรสองตัวเกี่ยวพันกัน ล้วนเป็นสัตว์สำคัญในเทพนิยายของจีน เป็นเทพแห่งพลัง แห่งความดี และแห่งชีวิต ช่างปั้นเลือกเอามังกรที่มี 3 เล็บหรือ 4 เล็บ เป็นลวดลายตกแต่งโอ่ง ช่างผู้ชำนาญปาดเนื้อดินด้วยหัวแม่มือเป็นรูปมังกร โดยไม่ต้องร่างแบบ ขีดเป็นลายมังกรด้วยปลายซี่หวี เป็นหนวด นิ้วเล็บ ส่วนเกล็ดมังกรหยักด้วยแผ่นสังกะสีแล้วเน้นลูกตาให้เด่นออกมา ด้วยการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมพื้นบ้านของสำนักงานอุสาหกรรมจังหวัดราชบุรีสามารถพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมเซรามิกส์ เช่น โรงงานเถ้าฮงไถ่ก็หันไปผลิตเครื่องปั้นดินเผ่าประเภทออกแบบลวดลาย สวยงามตามความต้องการของลูกค้าผลิตภัณฑ์จากโรงงานนี้ได้ มาตรฐานสามารถส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศได้ กรมศิลปากรเคยมาว่าจ้างให้ผลิตเครื่องปั้นดินเผ่าที่มีคุณค่าเพื่อใช้ในงานฉลอง 200 ปี กรุงเทพมหานคร ถ้วยชามเบญจรงค์เลียนแบบของเก่าก็มีผลิตที่โรงงานรัตนโกสินทร์นักท่องเที่ยวที่ผ่านมาถึงราชบุรีก็อดใจซื้อติดมือกลับไปไม่ได้ ส่วนโรงงานสยามราชเครื่องเคลือบก็พัฒนาการผลิตเป็นแจกัน เลียนแบบเครื่องสังคโลก แต่ก็ไม่เป็นที่นิยมนัก บางโรงงานก็ก้าวไปไกลหันไปผลิตถ้วยชามและของชำร่วย เช่น โรงงานเซรามิกส์บ้านโป่งปัจจุบันบ้านเมืองเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความก้าวหน้าทางเทคนิคและวิทยาการของอุตสาหกรรม มีการประดิษฐ์วัตถุภัณฑ์ใหม่ ๆ
ขึ้นมาใช้แทนไหโอ่งมากขึ้นประกอบกับเริ่มมีปัญหาเรื่องปิดป่าหาฟืนยาก จนถึงกับต้องตั้งเป็นสมาคมโรงงานสมาชิกต้องร่วมใจกันเสียสละปลูกป่าทดแทนในเขตสัมปทานโดยเฉพาะ พร้อมกันนั้นต้องหันมาใช้แก๊สช่วยในการเผาไหม้ นับเป็นผลกระทบต่อธุรกิจการค้าของโรงงานอย่างไรก็ตาม โอ่งลายมังกรเมืองราชบุรี คงจะเป็นสินค้าออกของจังหวัดไปอีกนานทีเดียวการทำโอ่งมังกรมีด้วยกัน ๕ ขั้นตอนขั้นตอนที่ ๑ การเตรียมดินขั้นตอนที่ ๒ การขึ้นรูปหรือการปั้นขั้นตอนที่ ๓ การเขียนลายขั้นตอนที่ ๔ การเคลือบขั้นตอนที่ ๕ การเผา ที่มา : http://www.ratchaburi.go.th/data/cultye/jar.htm
"ผ้าซิ่นตีนจก"
ข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจในตำบล ของ กลุ่มหัตถกรรมทอผ้าพื้นบ้านผลิตภัณฑ์ ผ้าจกราชบุรีรายละเอียดผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ผ้าจกราชบุรี เป็นผ้าทอลายไทยโบราณ ที่มีความละเอียดและต้องอาศัยความประณีตมาก ผ้าซิ่นตีนตกนั้นต้องใช้มือทอเป็นลายแต่ละเส้น ซึ่งกว่าจะได้ผ้าหนึ่งผืนอาจจะกินเวลาถึง 3 เดือนทีเดียว ผ้าของทางกลุ่มจะมีรูปแบบใหม่ ๆ ออกมาตลอดเวลา (OTOP) @วัตถุดิบที่ใช้1.ไหมประดิษฐ์ (ซึ่งใช้ในการทำเส้นยืน)2.ไหม3.ฝ้ายกระบวนการผลิต ทอมือจากหูก โดยทำการย้อมสีเคมีเอง (สีไม่ตก) โดยมีวิธีการทำ 8 ขั้นตอน คือ1.ฟอก 2.กรอ 3.ค้น 4.มัด 5.ย้อม 6.แต้มสี 7.กรอ 8.ทอและขึ้นลายจก(สีธรรมชาติ)การใช้/ประโยชน์นำไปตัดเป็นเครื่องนุ่งห่ม ได้อย่างสวยงามและเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยให้คงอยู่ไปตลอดกาลสถานที่จำหน่าย กลุ่มหัตถกรรมทอผ้าพื้นบ้าน2 หมู่ 5 ต.คูบัว อ.เมือง จ.ราชบุรี 70000 ติดต่อ : นางมณี สุขเกษมโทร : 032 314842 ข้อมูล ผ้าจกราชบุรีที่มา... http://www.thaitambon.com/ติดต่อ : คุณวัฒนา สกุลณา โทร : 032-397035

วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2550

กิจกรรมท้ายหน่วยการเรียนที่1

กิจกรรมท้ายหน่วยการเรียนที่ 1
ข้อที่ 1. เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา
เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง การนำเอาความรู้ แนวคิด กระบวนการ และผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ ทั้งที่คิดขึ้นหรือกระทำขึ้นมาใหม่ หรือดัดแปลงจากที่เคยมีมาก่อนแล้วนำมาใช้รวมกันอย่างมีระบบ เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการศึกษาให้ก้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อที่ 2. เทคโนโลยีและนวัตกรรมในด้านต่างๆ
เทคโนโลยีและนวัตกรรมถูกนำมาใช้ในงานสาขาต่างๆเช่นเทคโนโลยีทางการทหาร ( Military Technology )เทคโนโลยีทางการแพทย์ ( Medical Technology )เทคโนโลยีทางการเกษตร ( Agricultural Technology )เทคโนโลยีทางการสื่อสาร ( Communication Technology )เทคโนโลยีทางการค้า ( Commercial Technology )เทคโนโลยีทางวิศวกรรม ( Engineering Technology )เทคโนโลยีทางการตลาดสังคม ( Social Marketing Technology )เทคโนโลยีทางการศึกษา ( Educational Technology )

ข้อที่ 3. เทคโนโลยีทางการศึกษา จำแนกเป็น 2 ทัศนะ คือ- เทคโนโลยีทางการศึกษาตามทัศนะทางวิทยาศาสตร์กายภาพเป็นการนำเอาเครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์ หรือผลิตผลทางวิศวกรรมมาช่วยในกระบวนการเรียนการสอน ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายได้ง่ายขึ้น จึงเรียกว่าเทคโนโลยีทางเครื่องมือ ( Tool Technology )- เทคโนโลยีทางการศึกษาตามทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์ ( Behavioral science concept)เป็นการนำเอาความรู้ในด้านต่างๆเช่น ภาษาหรือการสื่อความหมาย มานุษยวิทยา จิตวิทยา การบริหาร มาใช้ควบคู่กับผลิตผลทางวิทยาศาสตร์หรือวัสดุอุปกรณ์ เพื่อให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้ให้ก้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ









ข้อที่ 4. ความหมายของการศึกษา
การศึกษา มีความหมายแตกต่างกันตามความเข้าใจของบุคคลแต่ละระดับดังนี้1. บุคคลธรรมดาสามัญการศึกษา เป็นการเล่าเรียนฝึกฝนและอบรม ( ราชบัญฑิตยสถาน, 2529 : 108)2. บุคคลในวิชาชีพทางการศึกษาการศึกษา เป็นศิลปะการถ่ายทอดความรู้จากอดีต ซึ่งรวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่อย่างมีระบบ เพื่อให้บุคคลรุ่นหลังเข้าใจและนำไปปฏิบัติ ( Good. 1959 : 191 )3. บุคคลที่เป็นนักการศึกษา สามารถจำแนกได้ 2 ทัศนะคือ 3.1 ทัศนะแนวสังคมนิยม เช่น
พลาโต ( Plato) กล่าวว่า การศึกษา คือ เครื่องมือที่ผู้ปกครองประเทศใช้ในการเปลี่ยนแปลงนิสัยมนุษย์ เพื่อก่อให้เกิดรัฐที่มีความสมานสามัคคี เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ( ภิญโญ สาธร. 2522 : 13 ) 3.2 ทัศนะแนวเสรีนิยม เช่นการศึกษา คือ การทำลายสัญชาตญาณสัตว์ การศึกษาเพื่อยกจิตใจของมนุษย์ และเสนอว่า การศึกษาเป็นไปเพื่อธรรมาธิปไตยมิใช่ประชาธิปไตย ( พุทธทาสภิกขุ. 2516 : 7 )ความหมายของการศึกษาที่ผสมผสานระหว่างแนวสังคมนิยม และแนวเสรีนิยม น่าจะได้แก่
พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 พระองค์ตรัสว่า การให้การศึกษานั้นกล่าวโดยย่อได้แก่ การช่วยเหลือบุคคลให้ค้นพบวิธีดำเนินชีวิตในทางที่ชอบและเหมาะแก่อัตภาพของตน ( วีระ บุณยะกาญจน. 2532 : 5 )

ข้อที่ 5. ระดับของเทคโนโลยีการศึกษา แบ่งได้ 3 ระดับ ได้แก่1. ระดับอุปกรณ์การสอนเป็นการใช้เทคโนโลยีในระดับ เครื่องช่วยการสอนของครู ( Teacher”s Aid ) เป็นการเร้าความสนใจของนักเรียน ขยายความเข้าใจให้แจ่มแจ้ง ให้ผู้เรียนได้รับการสัมผัสหลายๆทาง เช่น การใช้ภาพ ใช้เสียงจากเสียงจริง หรือใช้วัสดุจำลอง เป็นต้น การใช้เทคโนโลยีระดับนี้จะต้องใช้ควบคู่ไปกับการสอนของครูตลอดเวลาจึงจะดี2. ระดับวิธีสอนเป็นการใช้เทคโนโลยีแทนการสอนของครูด้วยตัวเอง โดยผู้สอนไม่จำเป็นจะต้องอยู่ในสถานที่แห่งเดียวกับผู้เรียนเสมอไป เช่น การสอนทางไกลโดยวิทยุ โทรทัศน์ หรือเอกสารทางไปรษณีย์ มีผลดีในด้านการจัดกิจกรรม การใช้เครื่องมือ การสร้างบรรยากาศชวนสนใจ แต่มีข้อเสียคือ ไม่มีความผูกพันระหว่างครูกับผู้เรียน3. ระดับการจัดระบบการศึกษาเป็นการใช้เทคโนโลยีการศึกษาระดับกว้าง สามารถจัดระบบการศึกษาตอบสนองผู้เรียนได้จำนวนมาก เช่น ระบบการสอนทางไกลของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เทคโนโลยีระดับนี้มีองค์ประกอบที่สำคัญ เช่น งานบริหารการศึกษา งานพัฒนาการศึกษา สื่อการศึกษา เป็นต้น นับเป็นพื้นฐานในการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนในปัจจุบัน ( วีระ บุณยะกาญจน. 2532 : 23 )


ข้อที่ 6. ข้อแตกต่างและความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีและนวัตกรรม
เทคโนโลยีและนวัตกรรม เป็นความคิดและการกระทำใหม่ทั้งหมดหรือปรับปรุงดัดแปลงจากที่เคยมีมาก่อน มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัย และเมื่อนำมาใช้หรือปฏิบัติแล้วสามารถช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น เพียงแต่นวัตกรรมยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน ส่วนเทคโนโลยี คือนวัตกรรมที่ถูกนำมาใช้จนถือกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบันนั่นเอง

ข้อที่ 7. ขั้นตอนในการกำเนิดนวัตกรรม
1. ขั้นประดิษฐ์คิดค้น ( Invention )
2. ขั้นการพัฒนา ( Development ) หรือขั้นทดลอง ( Pilot Project )
3. ขั้นการนำไปใช้หรือปฏิบัติจริง ( Innovation)

ข้อที่ 8. บทบาทของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษากับการจัดการเรียนการสอน การจัดการเรียนการสอน เป็นระบบงานย่อยที่สำคัญระบบหนึ่งในทางการศึกษา ซึ่งส่งผลโดยตรงกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ กล่าวคือ การจัดการเรียนการสอนเกี่ยวข้องกับระบบการถ่ายทอดความรู้หรือประสบการณ์ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาจึงมีความสำคัญต่อการจัดการเรียนการสอนดังนี้1. ช่วยให้ผู้เรียนได้กว้างขวางมากขึ้น ได้เห็นหรือได้สัมผัสกับสิ่งที่เรียนและเข้าใจได้อย่างสมบูรณ์ และยังทำให้ผู้สอนมีเวลาแก้ผู้เรียนมากขึ้น2. สามาสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้เรียนมีอิสระในการแสวงหาความรู้ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมมากขึ้น ผู้เรียนได้เรียนตามความสามารถ ตามความสนใจและความต้องการของแต่ละบุคคล3. ให้การจัดการศึกษาดีขึ้น มีการค้นคว้าวิจัย ทดลอง ค้นพบวิธีการใหม่ๆ ตามสภาพความเปลี่ยนแปลง4. มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาสื่อการสอน ให้มีคุณค่าและสะดวกต่อการใช้มากขึ้น5. ทำให้การเรียนรู้ไม่เน้นเฉพาะด้านความรู้เพียงอย่างเดียว แต่เน้นด้านทัศนะคติหรือ เจตคติและทักษะแก่ผู้เรียนด้วย เช่น การเรียนผ่านทางโทรทัศน์ ภาพยนตร์ สไลด์ ชุดการสอน กระบวนการกลุ่มเป็นต้น6. ช่วยเพิ่มโอกาสทางการศึกษาของผู้เรียนให้มากขึ้น เช่น การจัดการศึกษานอกระบบการจัดการศึกษาพิเศษ การจัดการศึกษาซ่อมเสริมผ่านทางระบบการสอนต่างๆ เช่น การเรียนผ่านสื่อมวลชน ชุดการสอน บทเรียนสำเร็จรูป

ข้อที่ 9. ตัวอย่างนวัตกรรมการศึกษา
- ศูนย์การเรียน - การสอนแบบโปรแกรม- บทเรียนสำเร็จรูป - ชุดการเรียนการสอน- การเรียนการสอนระบบเปิด - การสอนเป็นคณะ- การจัดโรงเรียนไม่แบ่งชั้น - การจัดโรงเรียนในโรงเรียน- การเรียนการสอนทางไกล - เรียนปนเล่น- คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ( CAI ) - การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอน- แบบฝึกหัดปฏิบัติเฉพาะกิจ
ข้อที่ 10. สาเหตุที่นำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ทางการศึกษา
กระบวนการให้การศึกษาในปัจจุบันได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงต่างๆ พอสรุปได้ 3 ประการ คือ1. การเพิ่มจำนวนประชากร การเพิ่มจำนวนประชากรเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาด้านต่างๆ เช่น การขาดแคลนอาหาร ที่อยู่อาศัย สถานที่ศึกษา ครู สื่อการสอน เป็นต้น ทำให้การศึกษาเป็นไปไม่ทั่วถึง หากรัฐบาลจะสร้างอาคารเรียนให้พอเพียง พร้อมทั้งผลิตและส่งครูไปทำการสอนในโรงเรียนอย่างทั่งถึงเป็นสิ่งที่กระทำได้ยากและต้องใช้งบประมาณมหาศาล นักศึกษาได้เสนอแนวทางที่เป็นไปได้ในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีมาเป็นส่วนส่งเสริมคุณภาพของการศึกษา เช่น โทรทัศน์การสอน ( Instructional T.V.) บทเรียนสำเร็จรูป (Programmed Textbook) ชุดการสอน (Instruction Packages) เป็นต้น2. การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นปัญหาที่ต่อเนื่องจากประชากรเพิ่มโดยตรง ทำให้สภาพเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การต่อสู้ดิ้นรน การแข่งขันสูงขึ้น การศึกษาจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงให้ทันกับเหตุการณ์อยู่เสมอ เพื่อให้ผู้ที่ได้รับการศึกษาสามารถดำเนินชีวิตอยู่ได้ในสังคมอย่างมีความสุขและก้าวหน้าต่อไป การนำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้จะช่วยสนับสนุนคำกล่าวที่ว่า “การศึกษาเป็นสิ่งผูกพันกับชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย” ดังนั้นการให้การศึกษาตลอดชีวิต (Longlife Education) แก่ประชาชนจึงเป็นไปในรูปของการศึกษานอกระบบ (Infomal Education) มหาวิทยาลัยเปิด (Open University) โดยอาศัยสื่อมวลชนเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียนที่อยู่ห่างไกลให้มีโอกาสได้รับการศึกษาตลอดไป3. ความก้าวหน้าทางวิทยาการใหม่ๆ การศึกษาค้นคว้าเพื่อหาวิธีแก้ปัญหาที่เป็นผลกระทบมาจากการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจและสังคม ทำให้พบวิทยาการใหม่ๆ หลากหลาย ด้านการศึกษาจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงหลักสูตร เนื้อหา และวิธีการสอน เพื่อให้ทันกับเครื่องมือและวิธีการที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เช่น การสอนที่เคยเน้นการท่องจำ ต้องปรับปรุงให้รู้จักคิด เน้นกระบวนการ (Process Learning) ดังนั้น จึงนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในรูปของการสอนแบบสืบสวนสอบสวน (Inauily Method) เป็นต้น การศึกษาค้นคว้าทางจิตวิทยาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางการศึกษาหรือกระบวนการเรียนการสอน โดยยึดทฤษฎีต่างๆ เป็นหลัก เช่น การรับรู้ (Perception) การเรียนรู้ (Learning) แรงกระตุ้น (Motivation) การเสริมแรง (Reinforcement) นอกจากนี้ยังคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล เป็นสำคัญด้วย

ข้อที่ 11. แนวคิดในการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษากับการศึกษาไทย ปัญหาและสภาพการศึกษาไทยในอดีตย่อมย่อมได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงดังที่กล่าวมาแล้ว ทำให้การศึกษาไทยได้รับการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่สมบูรณ์และมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะปัญหาด้อยคุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษาซึ่งพอประมวลได้ 3 ประการ คือ1. คนไทยส่วนใหญ่ไม่นับถือตนเอง2. คนไทยส่วนใหญ่ไม่เห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อม3. คนไทยส่วนใหญ่ขาดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามลักษณะสังคมไทย
การไม่นับถือตนเองคนไทยส่วนใหญ่ขาดความเชื่อมั่นและไม่นับถือตนเอง ในภาพการเรียนการสอนที่ครูเป็นศูนย์กลาง ครูไม่สามารถเอาใจใส่ผู้เรียนได้อย่างทั่วถึง ผู้เรียนบางคนไม่มีโอกาสตอบคำถามครูเลย ผู้เรียนส่วนใหญ่ต้องออกจากโรงเรียนเมื่อจบชั้นเรียนภาคบังคับและไม่มีโอกาสเรียนต่อ ทำให้ผู้เรียนเกิดปมด้อย ขาดความเชื่อมั่น การจัดการศึกษาควรให้ผู้เรียนได้เป็นศูนย์กลาง และทำงานที่เป็นผลสำเร็จด้วยตนเอง และได้รับคำชมเชยจากเพื่อนๆ ครูและผู้อื่นการไม่เห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อมในอดีตหลักสูตรบรรจุเนื้อหาและประสบการณ์ที่ไม่เอื้อต่อผู้เรียนในส่วนภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ การจัดการศึกษาควรตอบสนองความต้องการของคนแต่ละภาคเพื่อให้เขาได้ชื่นชมกับสิ่งแวดล้อมอันได้แก่ วัฒนธรรมต่างๆ รู้จักปรับปรุงความเป็นอยู่ การกิน การเพาะปลูก อุตสาหกรรม เกษตรกรรม และรักถิ่นฐานของตนเอง ไม่พากันหลั่งไหลเข้ามาแต่ในเมืองหลวง การไม่เห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อมของคนไทยนั้น รวมถึงการไม่ยอมรับความสามารถของคนไทยด้วยกันเองอีกด้วยการขาดลักษณะที่พึงประสงค์1. การจัดห้องเรียนและระบบการสอนแบบครูเป็นศูนย์กลาง ซึ่งบทบาทของครูเป็นผู้พูดตลอดเวลา ผู้เรียนจึงไม่มีโอกาสฝึกพูดและแสดงความคิดเห็น ปรากฏว่าเมื่อเติบโตขึ้นผู้เรียนไม่กล้าแสดงความคิดเห็น บางคนกล้าแต่ไม่รู้จักแสดงความคิดเห็น การกล้าและรู้จักแสดงความคิดเห็นต้องได้รับฝึกฝนมาตั่งแต่เด็ก2. การตัดสินใจด้วยตนเองก็เช่นกันควรฝึกตั้งแต่ภายในครอบครัว และโรงเรียนด้วย3. การรู้จักทำงานร่วมกันเป็นหมู่ ทางผู้เรียนมักเกิดปัญหา เนื่องจากครูมักเร่งกรอกความรู้ให้แก่ผู้เรียนอย่างเร่งรีบเพื่อให้ทันตามหลักสูตรจนไม่มีโอกาสได้ฝึกการทำงานร่วมกันของผู้เรียน ผลจึงปรากฏว่าส่วนใหญ่คนไทยมักไม่ค่อยประสบความสำเร็จในการทำงานร่วมกัน4. การสอนแบบพูดอย่างเดียวผู้เรียนมีหน้าที่เรียนและฟัง จะทำให้ผู้เรียนไม่มีโอกาสได้ฝึกตนเองในการแสวงหาความรู้หรือทำงานเป็นอิสระด้วยตนเอง ผลที่ปรากฏส่วนใหญ่ผู้สำเร็จการศึกษาไปแล้วจะไม่ติดนิสัยรักการอ่านหนังสือ ทำให้ลืมหนังสือในที่สุด5. ประการสุดท้ายในเรื่องการรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ระบบการศึกษา แบบเดิมมักจะ “สอน”แต่ไม่มีการ “ฝึก” การเป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่จังขาดความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและสังคมการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาเข้ามาช่วยเป็นการเปิดโอกาสให้เรียนได้สร้างความเชื่อมั่นและนับถือตนเอง เห็นคุณค่า และสามารถนำสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นของตนมาใช้เพื่อการดำเนินชีวิตที่สมบูรณ์และฝึกฝนคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่ 5 ประการดังกล่าว


12. จงยกตัวอย่างและแนวทางแก้ไขของการมีลักษณะที่ไม่พึงประสงค์
1. กล้าและรู้จักแสดงความคิดเห็น ครูควรจัดห้องเรียนและระบบการสอนแบบนักเรียนเป็นศูนย์กลาง เปิดโอกาสให้นักเรียนคิดเองทำเอง โดยครูมีหน้าที่เป็นที่ปรึกษา หรืออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เรียนเท่านั้น การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน เช่น การใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยในการสอน การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน รูปแบบการสอนที่นักเรียนได้มีส่วนร่วม การอภิปราย บทบาทสมมติ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะทำให้ผู้เรียนมีความกล้าและรู้จักแสดงความคิดเห็นมากขึ้น2. การตัดสินใจด้วยตนเอง ควรฝึกให้ผู้เรียนรูจักและตัดสินใจด้วยตนเองตั้งแต่ภายในครอบครัวและโรงเรียนด้วย ครูผู้สอนจะต้องร่วมมือกับทางครอบครัวของผู้เรียน ให้ครอบครัวสอนแนะนำให้ผู้เรียนรู้จักคิดเองตัดสินใจด้วยตนเองก่อน การตอบคำถามหรือข้อสงสัยของเด็ก ไม่ควรตอบทันทีทันใด แต่ควรเป็นการชี้แนะ หรืออธิบานกว้างๆ ให้เด็กคิดตัดสินใจเองหากเด็ดตัดสินใจผิด จึงค่อยบอกกล่าวภายหลัง ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีควรมีการจัดการเรียนการสอนแบบต่างๆ ที่เป็นแนวทางให้เด็กรู้จักคิดและตัดสินใจด้วยตนเอง เช่น การสอนแบบสืบสวนสอบสวน เป็นต้นๆ 3. รู้จักทำงานร่วมกันเป็นหมู่อย่างมีประสิทธิภาพครูควรจัดการเรียนการสอนทั้งทฤษฎีและฝึกการทำงานร่วมกันไปด้วย การจัดชั้นเรียน การมอบหมายงาน การจัดกิจกรรมครูควรเน้น ที่ระบบการทำงานเป็นทีม ชี้แนะระบบการทำงานเป็นทีมให้ชัดเจน มีการจัดแบ่งการทำงานให้ครบกันทุกคนที่ทำงานด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการสอนแบบอ๓ปรายกลุ่ม การสอนเป็นคณะ หรือการจัดกิจกรรม ครูควรมีกระบวนการสอนที่ชัดเจน มีการวัดแบบประเมินผลที่ครอบคลุมและชัดเจนเช่นกัน เพื่อให้ผู้เรียนได้รู้ว่าถ้าหากไม่ร่วมกันทำงาน ไม่ช่วยกันร่วมในกิจกรรมแล้วงานจะไม่สำเร็จหรือคะแนนที่ได้มาจะน้อยลง4. รู้จักแสวงหาความรู้เองการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษามาใช้จะช่วยให้ผู้เรียนรู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเองมากขึ้น ครูไม่ควรสอนแบบอธิบายอย่างเดียว ควรให้ผู้เรียนรู้จักค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองจากห้องสมุด การอ่านหนังสือ การค้นคว้าจากคอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ต การส่งงานทาง E- mail เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะทำให้ผู้เรียนรักการอ่าน รู้จักค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง5. มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมการเรียนการสอนจะต้องมีทั่งการให้ความรู้ทางวิชาการและฝึกปฏิบัติด้านคุณธรรมและจริธรรมแบบเรียน กระบวนการเรียนการสอนจะต้องปรับปรุง เพิ่มเติมด้านความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมให้มากกว่าเดิม การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในทางที่ดีและถูกต้อง ไม่ทำร้ายหรือให้โทษต่อผู้อื่นการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีต้องรู้จักรับผิดชอบด้วย ในการใช้งานถ้าใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้มีประโยชน์ต่อตนเองและสังคมแล้ว ยังจะเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมอย่างแท้จริง

ทดลองส่งบทความครั้งที่ 1

ข้อที่ 5 Elements หมายถึง องค์ประกอบย่อย ๆ พื้นฐานที่จำเป็นต้องมี
ตัวอย่าง เช่น สระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ หรือสีแดง สีเหลือง เส้น เป็นต้น

ข้อที่ 6 Structure หมายถึง โครงสร้างที่เกิดจากการนำเอาองค์ประกอบย่อย ๆ มารวมกันเป็นโครงสร้างภาพรวม
ตัวอย่าง เช่น คำ ประโยค หรือสีสันของรูปร่าง รูปทรง ฯลฯ ถ้าเปลี่ยนตำแหน่งองค์ประกอบโครงสร้างจะเปลี่ยนด้วย เช่น มาก " กาม, ยาก"กาย เป็นต้น

ข้อที่ 7 Content หมายถึง ข้อมูลที่เป็นความรู้สึกนึกคิดความต้องการของผู้ส่ง ข้อมูลนั้นเป็นเรื่อง
เกี่ยวกับอะไร สอดคล้องเหมาะสมกับอะไร จะวางแผนการเข้ารหัสและจัดส่งอย่างไร แต่ละ
แนวทางอาจได้ผลที่แตกต่างกัน
ตัวอย่าง เช่น โฆษณาขายรถแทรกเตอร์ เข้ารหัสโดยใช้รูปภาพและตัวอักษร จัดส่งทางอินเทอร์เน็ต นิตยสาร
ข้อที่ 8 Treatment หมายถึง วิธีการเลือก การจัดรหัสและเนื้อหาให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถ
ถ่ายทอดความต้องการของผู้ส่งสารไปยังผู้รับสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งผู้ส่งสารแต่ละคนจะ
มีวิธีการหรือเทคนิคเฉพาะตัว บางที่เรียกว่า Style ในการสื่อความหมาย
ตัวอย่าง เช่น การโฆษณาสินค้า ออกแบบให้ชวนมองชวนอ่าน การใช้ตัวอักษรที่เด่นสะดุดตา ใช้เสียงดังๆ เพื่อดึงดูดความสนใจ โดยอาจจะใช้แรงจูงใจ สิ่งเร้าในรูปแบบต่างๆกันเพื่อช่วยให้มีการรับรู้ได้ดียิ่งขึ้น

ข้อที่ 9 Code หมายถึง กลุ่มสัญลักษณ์ที่ถูกนำมาจัดแทนความรู้สึกนึกคิด ความต้องการ ผู้ส่งสาร
จำเป็นต้องตัดสินใจว่าจะใช้รหัสแบบใดจึงจะบรรลุเป้าหมายได้ดีที่สุด
ตัวอย่าง เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ดนตรี ภาพวาด กิริยาท่าทาง

ข้อที่10 อุปสรรคหรือสิ่งรบกวยภายนอก เช่น เสียงดัง รบกวน อากาศร้อน กลิ่นไม่พึงประสงค์
แสงแดด ฝนสาด ฯลฯ

ข้อที่11 อุปสรรคหรือสิ่งรบกวยภายใน เช่น ความเครียด อารมณ์ขุ่นมัว อาการเจ็บป่วย ความวิตกกังวล

ข้อที่12 Encode หมายถึง การเข้ารหัส หรือแปลความต้องการของตนให้เป็นสัญลักษณ์หรือสัญญาณต่าง ๆ ได้ เพื่อที่จะนำไปสื่อความหมายให้ผู้อื่นรับรู้

ข้อที่13 Decode หมายถึง การถอดรหัสหรือการแปลความหมายของสื่อที่ผู้ส่งนำมาให้ เพื่อที่จะได้รับรู้ว่า ผู้ส่งต้องการให้ผู้รับได้รับรู้ในเรื่องอะไร

ข้อที่14 จงอธิบายการสื่อความหมายในการเรียนการสอนมาให้ครบถ้วนและถูกต้อง

กระบวนการเรียนการสอนเป็นกระบวนการสื่อความหมายอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมี
องค์ประกอบดังนี้

ครู เนื้อหาหลักสูตร สื่อหรือช่องทาง นักเรียน

(Source) (Message) (Channel) (Receiver)
ผลย้อนกลับ

1. ครูในฐานะที่เป็นผู้ส่ง (Source) และกำหนดจุดมุ่งหมายของระบบการสอน ครูจึงควรมีพฤติกรรม ดังนี้
1.1 ต้องมีความเข้าใจในเนื้อหาที่จะสอนเป็นอย่างดี
1.2 มีความสามารถในการสื่อความหมาย เช่น การพูด การเขียน ลีลา ท่าทาง ฯลฯ
1.3 ต้องจัดบรรยากาศในการเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้
1.4 ต้องวางแผนจัดระบบถ่ายทอดความรู้ให้เหมาะสมกับเนื้อหาและผู้เรียน
2. เนื้อหา, หลักสูตร (Message) ตลอดจนทัศนคติ ทักษะ และประสบการณ์เป็นสิ่งสำคัญที่ครู จะถ่ายทอดไปสู่ผู้เรียน ดังนั้นเนื้อหาควรมีลักษณะดังนี้
2.1 เหมาะสมกับเพศและวัยของผู้เรียน
2.2 สอดคล้องกับเทคนิค วิธีสอน หรือสื่อต่าง ๆ
2.3 เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับกาลเวลา ควรปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ
3. สื่อหรือช่องทาง (Channel) เป็นตัวกลางหรือพาหะที่จะนำเนื้อหาจากครูผู้สอนเข้าไปสู่ภายในของผู้เรียน ลักษณะของสื่อควรเป็น ดังนี้
3.1 มีศักยภาพเหมาะสมกับธรรมชาติของเนื้อหา
3.2 สอดคล้องกับธรรมชาติของประสาทสัมผัสแต่ละช่องทาง
3.3 เด่น สะดุดตา ดูง่าย สื่อความหมายได้ดี
4. นักเรียนหรือผู้เรียน (Receiver) เป็นเป้าหมายหลักของกระบวนการเรียนการสอนที่จะทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนจึงควรมีลักษณะ ดังนี้
4.1 มีความสมบูรณ์ทางด้านร่างกาย โดยเฉพาะประสาทสัมผัสทั้ง 5
4.2 มีความพร้อมทางด้านจิตใจ อารมณ์มั่นคงปกติ
4.3 มีทักษะในการสื่อความหมาย
4.4 มีเจตคติต่อครูผู้สอนและเนื้อหาวิชา

ข้อที่15 จงอธิบายถึงความล้มเหลวของการสื่อความหมายในการเรียนการสอน
กระบวนการเรียนการสอนมักจะประสบความล้มเหลวบ่อย ๆ เนื่องจากอุปสรรคหลายประการ ดังนี้
1. ครูผู้สอนไม่บอกวัตถุประสงค์ในการเรียนให้ผู้เรียนทราบก่อนลงมือสอน ทำให้ผู้เรียนขาดเป้าหมายในการเรียน
2. ครูผู้สอนไม่คำนึงถึงข้อจำกัดและขีดความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน จึงมักใช้วิธีสอนแบบเดียวกันทุกคน
3. ครูผู้สอนไม่สนใจที่จะจัดบรรยากาศ ขจัดอุปสรรคและสร้างความพร้อมให้แก่ผู้เรียนก่อนลงมือสอน
4. ครูผู้สอนบางคนใช้คำยาก ทำให้ผู้เรียนไม่เข้าใจความหมายของคำ และเนื้อหาโดยรวม
5. ครูผู้สอนมักนำเสนอเนื้อหาวกวน สับสน รวดเร็ว ไม่สัมพันธ์ต่อเนื่อง กระโดดไปมาทำให้เข้าใจยาก
6. ครูผู้สอนไม่สนใจที่จะใช้สื่อการสอนหรือเลือกใช้สื่อการสอนไม่เหมาะสมกับเนื้อหา และระดับของผู้เรียน
ดังนั้นในกระบวนการเรียนการสอนจึงควรคำนึงถึงอุปสรรคต่างๆ และพยายามขจัดให้หมดไป เพื่อให้ผู้เรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2550

กิจกรรมท้ายหน่วยการเรียนที่ 4


คำถามและคำตอบท้ายหน่วยการเรียนที่ 4
ข้อที่ 1 คำว่า Communis แปลว่า..คล้ายคลึง หรือร่วมกัน
ข้อที่ 2 การสื่อความหมาย หมายถึง..กระบวนการส่งหรือถ่ายทอดความรู้ เนื้อหาสาระ ข่าวสาร ความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติ ค่านิยม ทักษะ ตลอดจนประสบการณ์ จากบุคคลหนึ่งซึ่งเรียกว่า
“ผู้ส่ง” ไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า “ผู้รับ”
ข้อที่ 3 Sender Message Channel Receiver
ข้อที่ 4 สาร หมายถึง เนื้อหา สาระ ความรู้สึก ทัศนคติ ทักษะ ประสบการณ์ ที่มีอยู่ในตัวผู้ส่ง หรือ
แหล่งกำเนิด